อาการปวดประสาทใบหน้า (面痛)
อาการปวดประสาทใบหน้า (面痛)
เป็นอาการปวดบริเวณใบหน้า ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการปวดแปลบคล้ายไฟช็อต เข็มแทง หรือปวดแสบร้อน บริเวณใบหน้าและกระพุ้งแก้ม พบได้ทั้งในเพศชาย เพศหญิง และมักพบในผู้สูงอายุ อายุ 40 ปี ขึ้นไป
อาการปวดมักเกิดขึ้นอย่างฉับพลันรุนแรงในระยะเวลาสั้น ไม่กี่วินาทีหรือนาที แต่จะเกิดขึ้นซ้ำเป็นระยะ ๆ โดยมักจะมีอาการเมื่อได้รับการกระตุ้นจากกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การพูด การล้างหน้า แปรงฟัน การกิน การสัมผัส ลมพัด เป็นต้น
กลไกเกิดโรคตามการแพทย์แผนจีน คือ ลมเย็นหรือลมร้อนภายนอกกระทบเส้นลมปราณ การบาดเจ็บ อาการเลือดคั่งที่เป็นมานาน หรือมีความเครียดสะสม ทำให้การไหลเวียนของเลือดและลมปราณติดขัด ก่อให้เกิดอาการปวดในรูปแบบดังกล่าว
การรักษาในทางการแพทย์แผนจีน จะใช้วิธีการฝังเข็มตามจุดปวด ร่วมกับจุดอื่น ๆ บนเส้นลมปราณที่เกี่ยวข้องกับเส้นประสาทใบหน้า ครั้งละประมาณ 30 นาที เสริมด้วยการกระตุ้นไฟฟ้า และอาจทานยาจีนร่วมในการปรับสมดุลร่างกาย เพื่อรักษาทั้งต้นเหตุการเกิด และอาการปวดไปพร้อมกัน เมื่อรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง จะเห็นผลการรักษาได้ชัดเจน
ทั้งนี้ อาการปวดประสาทใบหน้า ยังมีหลายสาหตุที่ต้องอาศัยการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม แนะนำเข้ามาพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจและปรึกษา หาสาเหตุและวิธีการรักษาที่เหมาะสม
Cr. พจ. สุพัชรี ชีวเกษมสุข
เป็นอาการปวดบริเวณใบหน้า ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการปวดแปลบคล้ายไฟช็อต เข็มแทง หรือปวดแสบร้อน บริเวณใบหน้าและกระพุ้งแก้ม พบได้ทั้งในเพศชาย เพศหญิง และมักพบในผู้สูงอายุ อายุ 40 ปี ขึ้นไป
อาการปวดมักเกิดขึ้นอย่างฉับพลันรุนแรงในระยะเวลาสั้น ไม่กี่วินาทีหรือนาที แต่จะเกิดขึ้นซ้ำเป็นระยะ ๆ โดยมักจะมีอาการเมื่อได้รับการกระตุ้นจากกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การพูด การล้างหน้า แปรงฟัน การกิน การสัมผัส ลมพัด เป็นต้น
กลไกเกิดโรคตามการแพทย์แผนจีน คือ ลมเย็นหรือลมร้อนภายนอกกระทบเส้นลมปราณ การบาดเจ็บ อาการเลือดคั่งที่เป็นมานาน หรือมีความเครียดสะสม ทำให้การไหลเวียนของเลือดและลมปราณติดขัด ก่อให้เกิดอาการปวดในรูปแบบดังกล่าว
การรักษาในทางการแพทย์แผนจีน จะใช้วิธีการฝังเข็มตามจุดปวด ร่วมกับจุดอื่น ๆ บนเส้นลมปราณที่เกี่ยวข้องกับเส้นประสาทใบหน้า ครั้งละประมาณ 30 นาที เสริมด้วยการกระตุ้นไฟฟ้า และอาจทานยาจีนร่วมในการปรับสมดุลร่างกาย เพื่อรักษาทั้งต้นเหตุการเกิด และอาการปวดไปพร้อมกัน เมื่อรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง จะเห็นผลการรักษาได้ชัดเจน
ทั้งนี้ อาการปวดประสาทใบหน้า ยังมีหลายสาหตุที่ต้องอาศัยการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม แนะนำเข้ามาพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจและปรึกษา หาสาเหตุและวิธีการรักษาที่เหมาะสม
Cr. พจ. สุพัชรี ชีวเกษมสุข