ภาวะซึมเศร้า (depression)
ภาวะซึมเศร้า (depression)
ภาวะซึมเศร้าเป็นกลุ่มอาการทางจิตเวชพี่พบได้บ่อย โดยผู้ป่วยจะมีความผิดปกติทางอารมณ์ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของจิตใจ ทำให้มีอารมณ์ซึมเศร้าเป็นเวลานาน อารมณ์ห่อเหี่ยว ร่างกายไม่สบาย มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ เป็นต้น
สาเหตุและกลไกในการเกิดโรค
ในทางการแพทย์แผนปัจจุบัน พบว่า ภาวะซึมเศร้าเกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมองที่ชื่อว่า เซโรโทนิน เนื่องจากมีความผิดปกติทางอารมณ์ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวลสะสม หรือมีภาวะเจ็บป่วยทางร่างกายเป็นเวลานาน ซึ่งสารเซโรโทนินนี้มีบทบาทสำคัญในด้านการควบคุมอารมณ์ เมื่อปริมาณสารเคมีตัวนี้ลดลงจะส่งผลให้เกิดอาการป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจจนนำไปสู่การทำร้ายตัวเอง
ในทางการแพทย์แผนจีน มองว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะนี้ค่อนข้างซับซ้อน โดยเกิดจากอารมณ์ทั้ง 7 อันได้แก่ โกรธ รัก ครุ่นคิด เศร้าหมอง กลัว ตกใจ กังวลที่มากเกินไปจนทำให้เกิดการติดขัดของลมปราณ เลือด ความชื้น ความร้อน อาหาร เสมหะจนนำไปสู่เลือดลมหยินหยางเสียสมดุล ทำให้จิตใจและสมองขาดการหล่อเลี้ยง
กลุ่มอาการทางการแพทย์แผนจีน
1. อารมณ์ห่อเหี่ยว ผู้ป่วยมีความรู้สึกเบื่อหน่าย น้อยใจ กดดัน โทษตัวเอง ไม่มีความหวัง มักเสียใจและอยากร้องไห้ ทำกิจกรรมต่าง ๆในชีวิตประจำวันด้วยความเชื่องช้า จนอาจถึงขั้นอยากฆ่าตัวตาย
2. ไม่มีกะจิตกะใจจะทำอะไร โดยพบว่าผู้ป่วยจะขาดสมาธิจดจ่อ วอกแวก เหนื่อยง่าย ตอบสนองต่อสิ่งเร้าช้า ประสิทธิภาพในการจำลดลง
3. ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติ ท้องผูก ท้องเสีย ประจำเดือนผิดปกติ ความต้องการทางเพศลดลง เป็นต้น
#หลักการรักษา
ในทางการแพทย์แผนจีนมีแนวทางในการรักษาอาการซึมเศร้าโดยใช้การฝังเข็มและการรับประทานยาจีนควบคู่กัน โดยการฝังเข็มจะเป็นการปรับสมดุลลมปราณตับ เป็นการปรับการเคลื่อนไหวลมปราณของอวัยวะภายในและหยินหยาง รวมถึงการใช้หลักการปลุกสมองเปิดทวารที่ทำให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น นอกจากนี้การรักษาทางจิตวิทยาควบคู่ด้วยจะทำใหเกิดผลการรักษาที่ดียิ่งขึ้น รวมถึงการให้กำลังใจผู้ป่วยก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้
Cr. พ.จ. ธมนวรรณ มะโนวรรณ พจ.1166
ภาวะซึมเศร้าเป็นกลุ่มอาการทางจิตเวชพี่พบได้บ่อย โดยผู้ป่วยจะมีความผิดปกติทางอารมณ์ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของจิตใจ ทำให้มีอารมณ์ซึมเศร้าเป็นเวลานาน อารมณ์ห่อเหี่ยว ร่างกายไม่สบาย มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ เป็นต้น
สาเหตุและกลไกในการเกิดโรค
ในทางการแพทย์แผนปัจจุบัน พบว่า ภาวะซึมเศร้าเกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมองที่ชื่อว่า เซโรโทนิน เนื่องจากมีความผิดปกติทางอารมณ์ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวลสะสม หรือมีภาวะเจ็บป่วยทางร่างกายเป็นเวลานาน ซึ่งสารเซโรโทนินนี้มีบทบาทสำคัญในด้านการควบคุมอารมณ์ เมื่อปริมาณสารเคมีตัวนี้ลดลงจะส่งผลให้เกิดอาการป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจจนนำไปสู่การทำร้ายตัวเอง
ในทางการแพทย์แผนจีน มองว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะนี้ค่อนข้างซับซ้อน โดยเกิดจากอารมณ์ทั้ง 7 อันได้แก่ โกรธ รัก ครุ่นคิด เศร้าหมอง กลัว ตกใจ กังวลที่มากเกินไปจนทำให้เกิดการติดขัดของลมปราณ เลือด ความชื้น ความร้อน อาหาร เสมหะจนนำไปสู่เลือดลมหยินหยางเสียสมดุล ทำให้จิตใจและสมองขาดการหล่อเลี้ยง
กลุ่มอาการทางการแพทย์แผนจีน
1. อารมณ์ห่อเหี่ยว ผู้ป่วยมีความรู้สึกเบื่อหน่าย น้อยใจ กดดัน โทษตัวเอง ไม่มีความหวัง มักเสียใจและอยากร้องไห้ ทำกิจกรรมต่าง ๆในชีวิตประจำวันด้วยความเชื่องช้า จนอาจถึงขั้นอยากฆ่าตัวตาย
2. ไม่มีกะจิตกะใจจะทำอะไร โดยพบว่าผู้ป่วยจะขาดสมาธิจดจ่อ วอกแวก เหนื่อยง่าย ตอบสนองต่อสิ่งเร้าช้า ประสิทธิภาพในการจำลดลง
3. ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติ ท้องผูก ท้องเสีย ประจำเดือนผิดปกติ ความต้องการทางเพศลดลง เป็นต้น
#หลักการรักษา
ในทางการแพทย์แผนจีนมีแนวทางในการรักษาอาการซึมเศร้าโดยใช้การฝังเข็มและการรับประทานยาจีนควบคู่กัน โดยการฝังเข็มจะเป็นการปรับสมดุลลมปราณตับ เป็นการปรับการเคลื่อนไหวลมปราณของอวัยวะภายในและหยินหยาง รวมถึงการใช้หลักการปลุกสมองเปิดทวารที่ทำให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น นอกจากนี้การรักษาทางจิตวิทยาควบคู่ด้วยจะทำใหเกิดผลการรักษาที่ดียิ่งขึ้น รวมถึงการให้กำลังใจผู้ป่วยก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้
Cr. พ.จ. ธมนวรรณ มะโนวรรณ พจ.1166